วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อินทผลัมกินผลสด


หลังจากเคยทดลองเพาะอินทผลัมครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ก็ทิ้งไปนานจนลืมไปแล้ว กระแสอินทผลัมกินผลก็กลับมาอีกครั้งหลังจากศึกษาข้อมูลแล้วพบว่า ให้ผลผลิตเร็วประมาณ ๓ ปี เท่านั้นเอง และเป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งได้ดี ไม่ต้องดูแลมาก












รอ ๒ อาทิตย์ เมล็ดเริ่มงอกแล้ว..........ได้เวลาลงถุงเพาะ.....











วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สวนป่าสมุนไพร

ตอนนี้มีคนขายที่ดินให้จำนวน ๑ ไร่ เศษ เป็นที่ดินร่วนปนทราย ที่ดินขนาดแมวดิ้นตาย ไม่น่าจะทำอะไรได้มากนัก ทางออกน่าจะเป็นสวนป่าสมุนไพร ประกอบด้วย ไม้ป่า สมุนไพรที่ใช้ทั้งใบ ดอก เปลือก ราก เหง้า แก่น

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หนังสือน่าอ่านของอาจารย์ระพี

วิถีชีวิตกับธรรมชาติและแนวทางที่มุ่งถึง

เป็นบทความเกี่ยวกับการมองชีวิตและธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น "บุคคลใดเข้าถึงธรรมะจริง ย่อมมีนิสัยรักธรรมชาติ" และ "บุคคลใดมีนิสัยรักธรรมชาติด้วยใจจริง ย่อมมีวิถีทางมุ่งรู้ธรรมะด้วยเช่นกัน"

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เกษตรธรรมชาติแบบญี่ปุ่น

วิถีสู่ธรรมชาติ๓

วิถีสู่ธรรมชาติ๒

วิถีสู่ธรรมชาติ๑

เกษตรธรรมชาติแบบเกาหลี

เกษตรธรรมชาติเกาหลีตามแนวทางของเกาหลีได้รับการเผยแพร่โดย ฮาน คิ โซ ผู้อำนวยการสถาบันเกษตรธรรมชาติจานอง (Janong Natural Farming Institute) เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี ก่อนเกษียณได้มีการนำแนวคิดการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ชุมชน เพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรธรรมชาติ โดยเริ่มต้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง โดยฮาน คิว โซ เป็นคนหนุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ทำให้ต้องหยุดเรียนหนังสือ เนื่องจากมหาวิทยาลัยต้องปิดยาว ฮาน คิว โซ ได้สังเกตเห็นว่า เทคนิคการหมักพืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ในถังหมักของชาวเกาหลี เป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง (การทำคิมจิ) โดยเมื่อนำของหมักดองไปรับประทานหมดแล้วก็จะเหลือแต่น้ำหมัก ซึ่งชาวเกาหลีมักจะเททิ้งก่อนทำความสะอาดถังหมักใหม่ ฮาน คิว โซ สังเกตว่าพืชผักที่ในนาและต้นไม้ข้างโรงหมักจะเจริญงอกงามดี เมื่อได้รับน้ำหมักจากการถนอมอาหาร ฮาน คิว โซ จึงได้รวบรวมสิ่งที่ได้จากการสังเกตและนำภูมิปัญญาของเกษตรกรเกาหลีมารวบรวมไว้เพื่อเผยแพร่มากกว่า 50 ปี โดยมีแนวคิดว่าการเกษตรที่พึ่งพาตนเองโดยใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้เกษตรกรสามารถะพึ่งพาตนเองได้

เกษตรธรรมชาติตามแนวทางเกาหลีเป็นรูปแบบเกษตรธรรมชาติวิธีหนึ่งที่มีแนวทางแตกต่างจากแนวทางของฟูกูโอกะ และโอกาดะโดยจะมีความแตกต่างกัน ในส่วนของรูปแบบการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในพื้นที่ในป่าหมู่บ้าน หรือชุมชนใกล้เคียง มาเป็นตัวเพิ่มความหลากหลายของธรรมชาติในพื้นที่เกษตรกรรม มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ดินแดงในป่า รำข้าว รวมถึงมูลสัตว์มาหมักร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น แล้วนำไปใช้ปรับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นทั้งในรูปของ จุลินทรีย์และวัสดุต่างๆ มาใช้ร่วมกันด้วยวิธีการหมักที่เห็นความรวดเร็ว โดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถสลายตัวได้รวดเร็วใช้แรงงานน้อยลง จึงเป็นแนวทางที่แตกต่างกับวิธีของฟูกูโอกะ และมีผลทำให้ได้มูลค่าตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูงขึ้น ในระยะเวลาที่ไม่แตกต่างกับระบบการเกษตรแผนปัจจุบัน จึงทำให้ระบบเกษตรธรรมชาติเกาหลีแพร่หลายเป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยและทั่วโลกมากกว่าวิธีของฟูกูโอกะที่เน้นการฟื้นฟูโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติเช่นกัน แต่ไม่เน้นการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารและขยายปริมาณจุลินทรีย์ ดังนั้นวิธีของฟูกูโอกะจึงใช้ระยะเวลาเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนที่มากกว่า จึงทำให้ไม่ทันใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนจากระบบเกษตรแผนปัจจุบันไปเป็นเกษตรธรรมชาติ

เกษตรธรรมชาติตามแนวทางของเกาหลี มีความใกล้เคียงกับเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นอย่างมาก ทั้งในรูปแบบของการปฏิบัติและวิธีการ โดยรูปแบบและวิธีการที่ต่างกันมีเพียงการเลือกใช้จุลินทรีย์ โดยเกษตรธรรมชาติคิวเซจะเลือกใช้จุลินทรีย์อีเอ็ม (EM)หรือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่มีการผลิตสำเร็จรูปตามมาตรฐานเป็นแบบอย่างเดียวกัน แล้วจึงนำไปเผยแพร่ทางการค้านโดยผ่านองค์การศาสนา ซึ่งอีเอ็มจะมีการเผยแพร่เพื่อส่งเสริมแนวทางเกษตรธรรมชาติคิวเซรูแบบเป็นจุลินทรีย์เหมือนกันทั่วประเทศ ในขณะที่เกษตรธรรมเกาหลีจะเน้นการใช้จุลิทรีย์ท้องถิ่น (ไอเอ็มโอ หรือ Indigeneous Microorganism : IMOs)โดยมีหลักการที่ว่า จุลินทรีย์จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีความสมดุลในระบบนิเวศของชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมานับเป็นเวลาหลายพันปี

1.) เข้าใจบทบาทของสิ่งมีชีวิตและทำงานร่วมกับธรรมชาติ

หลักการของการทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช คือการทำงานร่วมกับธรรมชาติ เข้าใจกฎการทำการเกษตร รวบรวมองค์ความรู้ของมนุษย์ร่วมกับการใช้แรงงานในการผสมผสานสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ ธาตุอาหารพืช แสงแดด อาหาร ดินและน้ำ สิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นในการทำเกษตรธรรมชาติ คือ การสังเกตและยอมรับในบทบาทของธรรมชาติ เพราะทุกชีวิตมีหน้าที่และมีบทบาทของตัวเอง โดยทุกชีวิตจะแยกจากกันไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศ ดังนั้นเราต้องเข้าใจถึงวัฎจักรของสิ่งมีชีวิตและยอมรับในความสามารถของพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่รอบๆ ตัวตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างเหมาะสมที่สุด คงเหลือไว้ให้มนุษย์รุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เช่นกัน

การทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช จะเน้นให้เกษตรกรรู้จักบทบาทของตัวเองในการทำการเกษตร ในขณะเดียวกันก็ควรยอมรับในบทบาทของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ซึ่งแตกต่างจากระบบเกษตรแผนใหม่ในปัจจุบันที่เน้นการผลิตพืชและสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น โดยความสำคัญของการเกษตร คือ การทุ่มเทแรงงานไปเพื่อการผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ และการมีสุขภาพที่ดีจากการทำงานร่วมกับธรรมชาติ

2.) รู้จักใช้สิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวให้เป็นประโยชน์

ประเทศเกาหลีเป็นประเทศในเขตหนาว ซึ่งในรอบปีจะสามารถทำการเกษตรได้เพียง 4-5 เดือน ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ในรูปของหมักดอง ซึ่ง ฮาน คิว โช ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าน้ำที่ได้จากการทำผักดองของเกาหลีที่เรียกว่า “กิมจิ”เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ จากการสังเกตว่าเมื่อเทน้ำเหล่านี้ทิ้งลงแปลงพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี ซึ่งถ้าพิจารณาส่วนประกอบในน้ำหมักดองจะพบว่ามีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก ในน้ำผักดองนั้นประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมัก และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นมากมาย และสารอินทรีย์เหล่านั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ เช่น กรดอะมิโน และวิตามิน เป็นต้น ทำให้เกิดความคิดการทำน้ำหมักจากเศษวัตถุดิบที่เหลือใช้หรือมีอยู่มากรอบๆ ตัวมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่เน้นการซื้อหามาจากแหล่งจากอื่น

นอกจากนี้ยังพบว่าจุลินทรีย์มีอยู่รอบๆ ตัวเรา ซึ่งสามารถทำการเก็บเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้ในการทำเกษตรธรรมชาติ และสามารถเก็บได้เองในพื้นที่ โดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและปรับตัวทำงานได้ดีที่สุด จุลินทรีย์ที่ดีควรมีความหลากหลาย เกษตรธรรมชาติเกาหลีไม่เน้นการใช้จุลินทรีย์เฉพาะตัวใดตัวหนึ่งและไม่สนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ต้องซื้อหามาใช้เป็นปัจจัยในการผลิต

3.) ให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

กระบวนการผลิตมีความสำคัญมากกว่าในการผลิต เนื่องจากรูปแบบของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จะมีลักษณะเฉพาะ การทำเกษตรสมัยใหม่จะมีเป้าหมายอยู่ที่ปริมาณการผลิต โดยไม่ใส่ใจลักษณะเฉพาะและความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น การเลี้ยงไก่ในกรงตับ การเลี้ยงสุกรหรือวัวที่เป็นคอกพื้นซีเมนต์ ฯลฯ เกษตรกรควรใส่ใจ และยอมรับในความสุขของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รู้จักสังเกตสิ่งที่เป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของพืชที่ปลูก และสัตว์ที่เลี้ยง สิ่งนี้คือหัวใจของเกษตรธรรมชาติที่แท้จริง

4.) เชื่อในพลังของธรรมชาติ และมุ่งเน้นการผลิตโดยคำนึงถึงคุณภาพ

เกษตรธรรมชาติมีอิทธิพลอย่างมาก ในการกระตุ้นในเกษตรกรเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ในการผลิตพืชและสัตว์ แนวคิดของเกษตรธรรมชาติเป็นอะไรที่จะฟังดูแปลก และมีความเสี่ยง ไม่มีเหตุผล หรือไม่สามารถอธิบายข้อสงสัยของเกษตรกรได้หมด ความเชื่อในวิธีเกษตรธรรมซึ่งปรากฏออกในลักษณะที่เกษตรกรไม่คุ้นเคย เนื่องจากหลักการและสมมุติฐานนี้ใหม่ดูแล้วไม่น่าจะถูกต้อง แต่ในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมีความเป็นไปได้ ถ้าเกษตรกรเชื่อในพลังของธรรมชาติ เข้าและทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ มนุษย์ต้องทำการเกษตรให้กลมกลืนอยู่กับธรรมชาติ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นหวังที่จะให้ได้ผลผลิตจากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้ได้ประมาณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตที่ได้

5.) ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ช่วยเหลือกันเอง และช่วยเหลือตัวเองก่อน

เกษตรกรควรให้ความช่วยเหลือ และดูแลให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมและใช้วิธีการถูกต้อง เช่น ถ้ามีแมลงรบกวนก็ควรจะควบคุมตัวอ่อนของแมลง ถ้าวัชพืชเป็นปัญหาก็ควรใช้วิธีหยุดการงอกของเมล็ดวัชพืช การปล่อยให้วัชพืชต้องแข่งขันกันเองในแปลงปลูก จนเกินจุดสมดุลของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆ ก็เป็นวิธีการควบคุมวัชพืชวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าวัชพืชบางชนิดก็มีประโยชน์เช่นกัน

ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์
โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช

http://www.maejonaturalfarming.org

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า.......

ผ่านไปสิบกว่า...........วัน.....เริ่มมีสิ่งมีอะไรเคลื่อนไหวบ้างแล้ว..........แอน..แอน........แอ๊น........รากเริ่มเดินแล้ว..











ผ่านไป 40 วัน เริ่มแทงยอดแล้ว



ยาวมาก

เอียง


ตรงเด่



ข้างๆ เป็นปอเทือง พืชพี่เลี้ยง เป็นร่มเงา







มาเพาะผักหวานป่ากัน


หลังจากได้รับเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าจากคุณ.ประกอบ แม่ขมิ้นแห่งเวป www.pakwanpa.com
แล้วก็ไปเตรียมดินไปหาหน้าดินบริเวณหลังเขา (พื้นทีสัตหีบ........บริเวณเขากระทิง)

เขากระทิง ก็มีผักหวานป่าขึ้น ต้นไม่ใหญ่มาก ยังไม่มีเมล็ด




เคยทดลองล้อมมาปลูกไม่สำเร็จ ศึกษาการปลูกผักหวานป่าโอกาสสำเร็จควรเพาะด้วยเมล็ด..........



จึงเป็นที่มาของการทดลองเพาะครั้งนี้



อันดับแรกเตรียมดิน.......เครื่องเตรียมดิน........ขับเคลื่อนทีด้วยเบียร์และเหล้าขาว.....................





บรรจุดินลงถุง........ปักป้ายหน่อยเดี๋ยวลืม.......หยอดเมล็ดแค่จมดิน........รอการเปลี่่ยนแปลง











หลักเกษตรธรรมชาติ

เกษตรธรรมชาติ หมายถึง การทำการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด แต่จะให้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืน ถาวร เป็นอาชีพที่มั่นคง

ถ้าเราศึกษาสภาพป่าเราจะเห็นว่าในป่ามีต้นไม้นานาชนิดขึ้นปะปนกันอยู่เต็มไป หมด ผิวดินถูกปกคลุมไปด้วยใบไม้ที่หล่นทับถมกัน สัตว์ป่าถ่ายมูลไว้ที่ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากับใบไม้และซากพืช มูลสัตว์รวมทั้งซากสัตว์ โดยมีสัตว์เล็ก ๆ เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดแทะเป็นชิ้นเล็ก ๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินช่วยย่อยสลายจนกลายเป็นฮิวมัส ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่านั่นเอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยเคมีไปใส่ในป่า ซึ่งเกษตรกรสามารถเลียนแบบป่าได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ใช้ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า เป็นต้น ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดินก็เป็นการคลุมผิวหน้าดินไว้ ป้องกันการสูญเสียความชื้นภายในดินทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของ รากพืช ถ้าศึกษาต่อไปจะพบว่า แม้ไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้ต้นไม้ในป่า แต่ต้นไม้ในป่าก็เจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีโรคและแมลงรบกวนบ้างก็ไม่ถึงขั้นเสียหายและยังสามารถให้ผลผลิตได้ ตามปกติ นั่นก็คือ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ นอกจากนี้พืชในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชหลากหลายชนิดทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง และแมลงบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ดังนั้นจึงเกิดสมดุลตามธรรมชาติโอกาสที่แมลงศัตรูพืชจะระบาดจนเกิดความเสีย หายจึงมีน้อย ดังนั้นเกษตรกรจึงสามารถจำลองสภาพป่าไว้ในไร่-นาโดยการปลูกพืชให้หลากหลาย ชนิด

หลักเกษตรธรรมชาติก็เป็นหลักการที่เลียนแบบมาจากป่าที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วยการปฏิบัติการทางการเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืช และแมลง ไปอย่างพร้อมกันคือ

1. มีการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสามารถทำได้โดย

1) ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ส่วนปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ปุ๋ยเหล่านี้จะให้ทั้งธาตุหลักและธาตุอาหารรองแก่พืชอย่างครบถ้วน จึงใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยหมัก

2) การคลุมดิน : ทำได้โดยใช้เศษพืชต่าง ๆ จากไร่-นา เช่น ฟาง หญ้าแห้ง ต้นถั่ว ใบไม้ ขุยมะพร้าว เศษเหลือทิ้งจากไร่นา หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติกคลุมดิน หรือการปลูกพืชคลุมดิน การคลุมดินมีประโยชน์หลายประการ คือ ช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดิน และรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ซึ่งประโยชน์ต่าง ๆ ของการคลุมดินดังกล่าวมานี้จะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิต ดี
3) การปลูกพืชหมุนเวียน : เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันทั้งชนิดและปริมาณ อีกทั้งระบบรากยังมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการแผ่กว้างและหยั่งลึก ถ้ามีการจัดระบบการปลูกพืชอย่างเหมาะสมแล้ว จะทำให้การใช้ธาตุอาหารมีทั้งที่ถูกใช้และสะสมสลับกันไปทำให้ดินไม่ขาดธาตุ อาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง


ดินดีปลูกอะไร อะไรก็งอกงาม ต้านทานโรคแมลงและให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ

2. ปลูกพืชหลายชนิด : การปลูกพืชหลายชนิดเป็นการจัดสภาพแวดล้อมใน ไร่-นา ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ เนื่องจากการปลูกพืชหลายชนิดจะทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลงจึงมีแมลงหลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ในจำนวนแมลงเหล่านี้ จะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติ ที่จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติในป่าที่อุดมสมบูรณ์ นั่นเอง

2.1) การปลูกหมุนเวียน : เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกันติดต่อกันบนพื้นที่เดียว กัน การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลงและช่วยประโยชน์ ในทางด้านการปรับปรุงดิน
2.2) การปลูกพืชแซม : การเลือกพืชมาปลูกร่วมกัน หรือแซมกันนั้นพืชที่เลือกมานั้นต้องเกื้อกูลกัน เช่น ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้อีกชนิดหนึ่ง ช่วยคลุมดิน ช่วยเพิ่มรายได้ก่อนเก็บเกี่ยวพืชหลัก เป็นต้น

3. อนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ : ซึ่งสามารถทำได้โดย

3.1) การที่ไม่ใช้สารเคมี เนื่องจากสารเคมีทำลายทั้งแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ด้วย
3.2) ปลูกดอกไม้สีสด ๆ เช่น บานชื่น ทานตะวัน บานไม่รู้โรย ดาวเรือง ดาวกระจาย เป็นต้น โดยปลูกไว้รอบแปลง หรือปลูกแซมลงในแปลงเพาะปลูก สีของดอกไม้จะดึงดูดแมลงนานาชาติและในจำนวนนั้นก็มีแมลงศัตรูธรรมชาติด้วย จึงเป็นการเพิ่มจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติในแปลงเพาะปลูกซึ่งจะช่วยควบคุมแมลง ศัตรูพืชให้แก่เกษตรกร